1105202 จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู (ผศ.นิตยา เรืองแป้น ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์)
( 1105202 )
ประมวลการสอน (Course Syllabus)
ประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553
1. คณะครุศาสตร์ ภาควิชา พื้นฐานการศึกษา
2. รหัสวิชา 1105202 ชื่อวิชา จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู
(อังกฤษ) Psychology and Guidance for Teachers
จำนวน 3 (2-2-5) หน่วยกิต
3. เนื้อหา (Course Description)
ศึกษาธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย์ การส่งเสริมพัฒนาการ ทฤษฎีการ เรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนรู้ และพัฒนาได้ตามศักยภาพ การส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ศึกษา ความรู้เบื้องต้น หลักการและทฤษฎีต่าง ๆ สำหรับการแนะแนวและการให้คำปรึกษา การจัดกิจกรรมแนะแนวและให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต
4. วัตถุประสงค์ของวิชา
4.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนในวัยต่างๆและส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนได้
4.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนรู้ และพัฒนาได้ตามศักยภาพ การส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
4.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
5. หัวข้อวิชา (Course outline)
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน
บทที่ 2 ทฤษฎีพัฒนาการ
บทที่ 3 ธรรมชาติผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
บทที่ 4 การเรียนรู้
บทที่ 5 บรรยากาศในชั้นเรียน
บทที่ 6 การจัดทำกรณีศึกษา
บทที่ 7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแนะแนวในโรงเรียน
6. แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนให้เกิดจินตนาการตามแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ใช้วิธีการสอนโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปราย การศึกษาจากกรณีตัวอย่าง การให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม
7. อุปกรณ์การสอนและสื่อต่าง ๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์ วีซีดี เพาเวอร์พอยท์ หนังสือ เอกสารประกอบการ
สอน ใบความรู้ ใบงานและบทความต่างๆ
8. การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
8.1 จากการฝึกปฏิบัติ
8.2 จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการอภิปราย
8.3 จากการตอบใบงาน
8.4 จากงานที่กำหนดให้ส่งทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม
8.5 การสอบกลางภาค
8.6 การสอบปลายภาค
งานเดี่ยว
- การฝึกปฏิบัติ การอภิปราย การทำกิจกรรมใบงาน การทำรายงาน บันทึกผลการเรียนรู้ลงใน web blog ตลอดภาคเรียน
(20 คะแนน)
งานกลุ่ม
แบ่งกลุ่ม ศึกษาค้นคว้างานเพื่อนำเสนอ ดังนี้ (10 คะแนน)
กลุ่มที่ 1 ทฤษฎีพัฒนาการของ Freud สป.3
กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีพัฒนาการของ Erikson สป.3
กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีพัฒนาการของ Gesell สป.4
กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีพัฒนาการของHavighurst สป.4
กลุ่มที่ 5 ทฤษฎีพัฒนาการของ Piaget สป.5
กลุ่มที่ 6 ทฤษฎีพัฒนาการของ Kohlberg สป.5
ธรรมชาติผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล สป.6-7
สอบกลางภาค สป.8
กลุ่มที่ 7 การเรียนรู้สป.9
กลุ่มที่ 8 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Pavlovสป.10
กลุ่มที่ 9 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Watson สป.10
กลุ่มที่ 10 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndikeสป.10
กลุ่มที่ 11 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinnerสป.10
กลุ่มที่ 12 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gestaltสป.11
กลุ่มที่ 13 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Brunerสป.11
กลุ่มที่ 14 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Ausubel สป.11
กลุ่มที่ 15 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Banduraสป.11
9. การวัดผลและการประเมินผลการเรียน
- การเข้าชั้นเรียน 10%
- งานที่มอบหมาย 30%
- สอบกลางภาค 20%
- สอบปลายภาค 40%
ใช้วิธีอิงเกณฑ์ และจัดระดับคะแนนตามระเบียบการประเมินผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือ A, B+ , B , C+ , C , D+ , D และ E
ข้อกำหนดรายวิชา
- การเข้าชั้นเรียน นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80
- การเข้าสอบกลางภาค หากนักศึกษาผู้ใดไม่ได้เข้าสอบกลางภาค และมาติดต่อผู้สอนหลังจากสัปดาห์ที่ 10ไปแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้สอบกลางภาค ยกเว้นกรณี
- ป่วย,ได้รับอุบัติเหตุ
- มีกิจธุระสำคัญทางราชการ
โดยจะต้องทำจดหมายลาหรือมีหนังสือชี้แจงล่วงหน้า
3. การแต่งกาย ต้องแต่งกายในชุดนักศึกษา โดยเป็นไปตามระเบียบที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ หากไม่เป็นไปตามระเบียบจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชั้นเรียน
10. การให้โอกาสนอกเวลาเรียนแก่นักศึกษาเข้าพบและให้คำแนะนำในด้านการเรียน
ผศ.นิตยา เรืองแป้น
วันพุธ 14.00 – 16.00 น. หรือตามนัดหมาย
E-mail : rnitaya@gmail.com
- 11. เอกสารประกอบคำสอนและหนังสืออ่านประกอบ
คณาจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา.2549.จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู.ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
- เอกสารภายใต้หัวข้อเนื้อหาและหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการเรียนการสอน จิตวิทยาการแนะแนว จิตวิทยาพัฒนาการ เป็นต้น
1. พรรณี ชูทัย เจนจิต. 2538. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.
2. เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. 2536. พัฒนาการทางพุทธิปัญญา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. วรรณี ลิมอักษร. 2541. จิตวิทยาการศึกษา. สงขลา: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
4. สุรางค์ โค้วตระกูล. 2544. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. มาลี จุฑา. (2544). การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์วิสุทธิ์.
6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2540.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข: ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
7. นิตยา เรืองแป้น.2550.การจัดบริการทางจิตวิทยาและการแนะแนวในสถานศึกษา. ยะลา:มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
8.---------------.2547.จิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและการแนะแนว.ยะลา:มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
9. จำเนียร ช่วงโชติ. 2544ก. การบริการปรึกษาและแนะแนวเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
10. ______ . 2544ข. เทคนิคการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
11. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2546. หลักและระบบงานแนะแนวในสถานศึกษา.
12. กุญชรี ค้าขาย. 2542. จิตวิทยาแนะแนวเด็กวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
13. จำเนียร ช่วงโชติ. 2544ก. การบริการปรึกษาและแนะแนวเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8 ).กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
14. ______ . 2544ข. เทคนิคการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
15. นุชลี อุปภัย. 2543. การแนะแนวเบื้องต้น. นครปฐม: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
16. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2539). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. Capel, S, Leask, M., & Turner, T. 2001. (3rd ed.). Learning to teach in the Secondary School. New York: Routledge/ Falmer.
18. Catania, A. Charles. (1998). Learning (4 th ed). Upper Saddle River. NJ : Prentice – Hall , Inc.
19. Chanee , Paul. (1999). Learning and Behavior. (4 th ed). Pacific Grove . CA : Brooks/Cole Publishing Company.
20. Driscoll , Marcy . P. (1994 ). Psychology of Learning for Instruction. Boston : Allyn and Bacon.
21. Frieman , Jerome. (2002). Learning and Adaptive Behavior. CA : Wadsworth Group.
22. Hergenhahn , B.R. and Olson , Matthew .H. ( 1997 ). An Introduction to Theories of Learning.(5thed) Prentice – Hall International , Inc.
23. Lefrancois , Guy. R. (2000). Theories of Human Learning What the Old Man Said. (4 th ed). Australia : Wadsworth Thomson Learning.
24. Mazur, James.E. (1998). Learning and Behavior. (4 th ed). NJ : Prentice – Hall , Inc.
25. Schunk , Dale.H. (1991). Learning Theories : An Educational Perspective. Merrill , NewYork : Macmillan Publishing Company.
- Website ภายใต้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการเรียนการสอน จิตวิทยาการแนะแนว หลักสูตรการศึกษา พัฒนาการ ธรรมชาติของผู้เรียน สุขภาพจิตและการปรับตัว เป็นต้น
12. ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนโดยละเอียด
ครั้งที่ | เรื่อง | กิจกรรม |
1-2 | ความรู้เบื้องต้นด้านจิตวิทยาการเรียนการสอน - มโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอน - ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน - ความเป็นมาของจิตวิทยาการเรียนการสอน - ระบบการเรียนการสอน - จิตวิทยาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน - ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาการเรียนการสอน | นักศึกษาศึกษาใบความรู้ อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน
|
ครั้งที่ | เรื่อง | กิจกรรม |
3-5 | ทฤษฎีพัฒนาการ - ความหมายพัฒนาการ - ความแตกต่างของพัฒนาการกับการเจริญเติบโต - หลักพัฒนาการ - ครูกับการเรียนรู้เรื่องพัฒนาการ - ทฤษฎีพัฒนาการของ Freud - ทฤษฎีพัฒนาการของ Erikson - ทฤษฎีพัฒนาการของ Gesell - ทฤษฎีพัฒนาการของ Havighurst - ทฤษฎีพัฒนาการของ Piaget - ทฤษฎีพัฒนาการของ Bruner - ทฤษฎีพัฒนาการของ Kohlberg | 1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน 2. นักศึกษาศึกษาใบความรู้ อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน |
6-7 | ธรรมชาติผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล - ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางเชาว์ปัญญา - ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางความคิดสร้างสรรค์ - ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางลีลาการรู้คิด - ความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ | นักศึกษาศึกษาใบความรู้ อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน
|
8 | สอบระหว่างภาค |
ครั้งที่ | เรื่อง | กิจกรรม |
9-11
| การเรียนรู้ - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Pavlov - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Watson - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gestalt - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bruner - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Ausubel - ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura | 1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน 2. นักศึกษาศึกษาใบความรู้ อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน |
12 | บรรยากาศในชั้นเรียน | นักศึกษาศึกษาใบความรู้ อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน |
13-15 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแนะแนวในโรงเรียน - ความหมายของการแนะแนว - ประโยชน์ของการแนะแนว - หน้าที่และหลักการแนะแนว - บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล - บริการสนเทศ - บริการให้คำปรึกษา - บริการจัดวางตัวบุคคล - บริการติดตามผลประมินผล | 1. นักศึกษานำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน 2. นักศึกษาศึกษาใบความรู้ อภิปราย ทำกิจกรรมใบงาน |
13. ผู้สอน ผศ.นิตยา เรืองแป้น
- Teacher: ผศ.นิตยา เรืองแป้น ผู้สอน