1105105 การจัดบริการทางจิตวิทยาและการแนะแนว
(1105105)

 This course requires an enrolment key

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์ ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อวิชา

 1105105 การจัดบริการทางจิตวิทยาและการแนะแนว Guidance Psychology and Services

2. จำนวนหน่วยกิตหรือจำนวนชั่วโมง

3(2-2-5)

3. หลักสูตรและประเภทรายวิชา

ปริญญาตรี 4 ปี ศิลปศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา)

21 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน

2101 กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา เรืองแป้น

5. ภาคการศึกษา /ชั้นปีที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ 2 /ชั้นปีที่ 1

 

6. รายวิชาที่เรียนมาก่อน (Pre-requisites) (ถ้ามี)

ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)

ไม่มี

8. สถานที่เรียน

 ห้องเรียน 20-603 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายวิชาครั้งล่าสุด

 พ.ศ.2550

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการแนะแนว กระบวนการ เทคนิคและเครื่องมือในการให้บริการแนะแนวแก่นักเรียนทุกระดับการศึกษา บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรที่ให้บริการ คุณสมบัติและจรรยาบรรณของนักจิตวิทยาแนะแนว

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจในการแนะแนวเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งนี้ควรมีการฝึกปฏิบัติการแนะแนวที่สามารถวัดทักษะของนักแนะแนวที่ดี และมีการยกกรณีตัวอย่างที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียนในสังคมปัจจุบันเพื่อฝึกปฏิบัติการ

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา

 ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ปรัชญาและหลักการแนะแนว กระบวนการ เทคนิคและเครื่องมือในการให้บริการแนะแนวตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรที่ให้บริการ คุณสมบัติและจรรยาบรรณของนักจิตวิทยา การใช้กระบวนการแนะแนวในสังคมพหุวัฒนธรรม

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย

สอนเสริม

การฝึกปฏิบัติงาน

ภาคสนาม/การฝึกงาน

การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษา

ฝึกปฏิบัติ 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

ศึกษาด้วยตนเอง 150 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

อาจารย์ประจำวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม

1.1 คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา

 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เคารพในหลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตย เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

   - ตระหนักในคุณค่าคุณธรรม จริยธรรม 

   - มีวินัย ตรงต่อเวลา

  - เสียสละ มีจิตสาธารณะ มีน้ำใจ

  - มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

  - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและบริหารความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม

  - ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

  - ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

  - เคารพกฎกติกา ระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม

  - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

1.2 วิธีสอน

  - บรรยายด้วยสื่อPowerPoint พร้อมยกตัวอย่างCase study เกี่ยวกับปัญหาต่างๆในแต่ละด้านของนักเรียนในสถานศึกษาแต่ละระดับเพื่อการแนะแนวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การแนะแนวการศึกษา การแนะแนวศึกษาต่อและอาชีพ การแนะแนวส่วนตัวและสังคม 

 - นักศึกษาศึกษาจากการสาธิตและฝึกปฏิบัติ

 - นักศึกษาทำกิจกรรมใบงาน 

 - นักศึกษาอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ สังเคราะห์

 - นักศึกษาศึกษาค้นคว้าจากประสบการณ์และจากสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต

   - นักศึกษาจัดทำโครงงานการจัดบริการแนะแนวในสถานศึกษา (งานกลุ่ม)

 - นักศึกษานำเสนอรายงานด้วยเอกสารและหน้าชั้นเรียน

1.3 วิธีการประเมินผล

 - สังเกตการเข้าเรียน

 - สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

 - ตรวจสอบความถูกต้องของกิจกรรมใบงาน

 - สังเกตการส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดและทันเวลา

 - ตรวจสอบสรุปผลการจัดทำโครงงานการจัดบริการแนะแนวในสถานศึกษา (งานกลุ่ม)

 - ตรวจสอบความถูกต้องของการนำเสนอรายงานด้วยเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน

2. ความรู้

 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ

 มีความรู้ในความหมาย ความสำคัญ ปรัชญาและหลักการแนะแนว กระบวนการ เทคนิคและเครื่องมือในการให้บริการแนะแนวตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรที่ให้บริการ คุณสมบัติและจรรยาบรรณของนักจิตวิทยา การใช้กระบวนการแนะแนวในสังคมพหุวัฒนธรรม

 2.2 วิธีการสอน

  - บรรยายด้วยสื่อPowerPoint พร้อมยกตัวอย่างCase study เกี่ยวกับปัญหาต่างๆในแต่ละด้านของนักเรียนในสถานศึกษาแต่ละระดับเพื่อการแนะแนวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การแนะแนวการศึกษา การแนะแนวศึกษาต่อและอาชีพ การแนะแนวส่วนตัวและสังคม 

  - นักศึกษาศึกษาจากการสาธิตและฝึกปฏิบัติ

 - นักศึกษาทำกิจกรรมใบงาน 

 - นักศึกษาอภิปรายกลุ่ม <

This course requires an enrolment key