รายวิชาที่จัดสอนโดยหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

  • คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาหลักการและฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สร้างงานมัลติมีเดียในรูปแบบต่างๆ โดยศึกษาการตัดต่อภาพและเสียง วิธีการแปลงข้อมูลทั้งภาพและเสียง จากอนาลอกเป็นดิจิตอล รวมทั้งการนำงานมัลติมีเดียไปใช้บนเว็บ อย่างน้อยสามโปรแกรม เช่น โปรแกรมการสร้างและตกแต่งภาพ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและการประมวลผลเสียง โปรแกรมการสร้างภาพเคลื่อนไหว การทำภาพยนตร์ เป็นต้น

  • คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาแนวความคิด องค์ประกอบและการเขียนโปรแกรมคำสั่งภาษาร่วมสมัยภาษาใดภาษาหนึ่ง อาทิเช่น ชนิดของข้อมูล ค?าคงที่ ตัวแปร นิพจน์ คําสั่งรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ คําสั่งในการกําหนดค่า คําสั่งควบคุม การประมวลผลข้อความ ชนิดข้อมูลโครงสร้าง โปรแกรมย่อย การออกแบบโปรแกรมต่างๆ โดยการปฏิบัติจริง

  • คำอธิบายรายวิชา

    แนวคิดในการวิเคราะห์และออกแบบการประยุกต์ทางด้านมัลติมีเดีย การกำหนดความต้องการของระบบมัลติมีเดีย กระบวนการวิเคราะห์และออกแบบระบบมัลติมีเดีย เครื่องมือที่ในการออกแบบระบบ มาตรฐานของรูปแบบแฟ้มกราฟิกทางด้านมัลติมีเดีย การวิจัยและการแสดงผลทางด้านมัลติมีเดียที่เหมาะสม หลักการสร้างมัลติมีเดีย สถาปัตยกรรมของเวิลด์ไวด์เว็บสำหรับมัลติมีเดีย การทดสอบและประเมินผลงาน การบำรุงรักษา และการจัดทำเอกสาร กรณีศึกษาการพัฒนาระบบมัลติมีเดีย

  • แนวทางและขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้ภาษาหรือซอฟต์แวร์ในการพัฒนาเว็บไซต์ การใช้เครื่องมือของซอฟต์แวร์ด้านต่างๆ ในการพัฒนาและตกแต่งเว็บไซต์ หลักการอัพโหลดและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • แนวคิดการบริหารเว็บไซต์ หลักการออกแบบเว็บไซต์ การสำรวจความต้องการของการพัฒนาเว็บไซต์ การใช้เทคนิคในการพัฒนาเว็บไซต์ การนำเสนอองค์ประกอบของเว็บไซต์ การออกแบบการนำทางของเว็บไซต์ ส่วนประกอบที่สำคัญของเว็บไซต์ การใช้ชุดสีในการพัฒนาเว็บไซต์
  • หลักการการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และโปรโตคอลการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับงานมัลติมีเดียหลักการระบบปฏิบัติการเครือข่ายเบื้องต้นการติดตั้งและการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์สนับสนุนงานด้านการให้บริการมัลติมีเดีย
  •   ศึกษาลักษณะ และประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อดีข้อจำกัดของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน ศึกษาทฤษฎี การเรียนรู้เพื่อการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และการ ปฏิสัมพันธ์ การควบคุมผู้เรียน การสร้างองค์ความรู้ ลักษณะการอินเตอร์เฟสที่ เหมาะสมและกิจกรรมอื่นๆที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกปฏิบัติการ สร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนการสอนทั้งแบบอ๊อฟไลน์และออนไลน์ด้วย โปรแกรมต่างๆที่เหมาะสมโดยพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพตามขั้นตอนการพัฒนาและหลักการออกแบบ รวมทั้งศึกษางานวิจัยที่ เกี่ยวข้องและแนวโน้มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนในอนาคต
  • ศึกษา ค้นคว้าเขียนเค้าโครงงานปฏิบัติการเขียนรายงานและนำเสนอผลงานเกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียด้วยตนเอง(เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม)ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ที่ปรึกษา โดยหัวข้อที่ศึกษาต้องไม่ซ้ำกับโครงงานของรายวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรกระบวนการศึกษาให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้กำหนด

  • จัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ ในด้านการรับรู้ ทักษะ ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ และการพัฒนาคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพด้านมัลติมีเดีย