e-Lerning YRU : ระบบจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

RSS
ภาพประกอบประวัติ
Wiki สารานุกรมเสรีออนไลน์ : แหล่งทรัพยากรการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง
บุคคลทั่วไป

Wiki คืออะไร

· ความหมายของ Wiki

วิกิ หรือ วิกี้ ( wiki ) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี้ยังรวมหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ ซึ่งทำหน้าที่รองรับการทำงานในลักษณะให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ร่วมสร้างและแก้ไขเนื้อหาในเว็บไซต์อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เว็บสารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดีย ( www.wikipedia.org) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ( www. mediawiki.org) ในการบริหารจัดสารานุกรมออนไลน์ สามารถ Download มาติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเว็บไซต์ http://www.mediawiki.org/wiki/Download ซึ่งปัจจุบันเผยแพร่เวอร์ชั่นล่าสุด คือ mediawiki-1.13.0

โครงการพัฒนาเว็บไซต์ประเภท Wiki มีหลายภาษาทั่วโลก สำหรับภาษาไทยเองก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ประเภท Wiki หลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในระบบชั้นเรียนปกติและในระบบอีเลิร์นนิ่งได้เป็นอย่างดี โครงการที่เป็นเว็บไซต์ประเภท Wiki
ในภาษาไทย ประกอบด้วยเว็บไซต์ ดังต่อไปนี้

วิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี

วิกิตำรา
ตำราและคู่มือ

วิกิคำคม
ที่รวบรวมคำคม สุภาษิต

วิกิซอร์ซ
เอกสารต้นฉบับ

วิกิข่าว
แหล่งข่าวเนื้อหาเสรี

วิกิสปีซีส์
สารบบอนุกรมวิธาน

คอมมอนส์
แหล่งรวบรวมแบ่งปันสื่อ

เมต้าวิกิ
ศูนย์กลางโครงการวิกิมีเดีย

ประโยชน์ของเว็บไซต์ประเภท Wiki ในการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง มีดังนี้

1. Wiki เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง เนื่องจาก Wiki เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาด้านต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ หรือผู้มีประสบการณ์ เนื้อหาต่าง ๆ มีการตรวจสอบโดยผู้เขียนหลายคนร่วมมือกัน ดังนั้น เนื้อหาที่ได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีความถูกต้อง สมบูรณ์ ดังนั้น แหล่งข้อมูลในเว็บไซต์ประเภท Wiki จึงสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอ้างอิงในการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่งได้

2. ใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ เนื่องจากหลักการของ Wiki คือการให้เสรีแก่ผู้ใช้ ในการสร้างและแก้ไขเนื้อหา ในระบบอีเลิร์นนิ่งจึงใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมการการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น

· Workgroup Assignment - การมอบหมายงานเป็นกลุ่ม

· Project-Based Learning - การเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน

· Constructivist Paradigm - การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างองค์ความรู้

· Cooperative/Collaborative Paradigm - การเรียนรู้ร่วมกันหรือการเรียนแบบร่วมมือกัน

3. ใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร ทั้งประเภทองค์ความรู้ประเภท Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge รวมทั้งนำไปใช้ในการจัดการองค์ความรู้เฉพาะกลุ่มที่สนใจในด้านเดียวกัน

สำหรับ เท่านั้น: e-Learning, แหล่งเรียนรู้
ภาพประกอบประวัติ
ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning)
บุคคลทั่วไป

อีเลิร์นนิ่ง เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์กำหนดไว้อย่างชัดเจน จัดการเรียนการสอนตามหลักการทฤษฎีทางการศึกษา หลักการเรียนการรู้ และจิตวิทยาการศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอเนื้อหา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและถ่ายทอดกลยุทธ์การสอน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งปัจจุบันเน้นไปที่การใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา เนื้อหาบทเรียนของอีเลิร์นนิ่งจะอยู่ในรูปแบบสื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Multimedia) ซึ่งถูกออกแบบไว้ในลักษณะซอฟต์แวร์รายวิชา (courseware) ประกอบด้วยสื่อผสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และที่สำคัญคือ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและผู้สอนได้ การบริหารจัดการระบบอีเลิร์นนิ่งใช้ซอฟท์แวร์ประเภทบริหารจัดการการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Learning Management System: LMS ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการแทนคนหรือเจ้าหน้าที่อย่างอัตโนมัติเกือบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนจนถึงขั้นตอนการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

สำหรับ เท่านั้น: e-Learning
ภาพประกอบประวัติ
บรรยากาศการจัดการเรียนการสอนรายวิชา 4000107
บุคคลทั่วไป

ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ผมได้นำร่องทดลองใช้ระบบการเรียนการสอนในระบบ e-Learning YRU จำนวน 2 รายวิชา คือ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต (นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ และพัฒนาชุมชน) และรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนผสมผสานกันระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน (Face-to-Face)โดยเน้นวิธีสอนแบบบรรยายสรุป และการเรียนการสอนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง โดยเน้นให้ผู้เรียนทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์จากที่ใดก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่กำหนดให้ได้แก่ แบบทดสอบย่อยประจำบท กิจกรรมถาม-ตอบผ่านกระดานเสวนา กิจกรรมมอบหมายงานและส่งงานออนไลน์ ส่วนสื่อการเรีนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ เอกสาร HTML, เอกสารประเภท PDF และเอกสารสไลด์ PowerPoint ผลการจัดการเรียนการสอนจากการสังเกตในเบื้องต้น พบว่า ผู้เรียนมีความสุข ให้ความสนใจ รับผิดชอบในการทำกิจกรรม และไม่รู้สึกเบื่อกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน และมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้เพิ่มขึ้น บรรยากาศการเรียนการสอน

e-Leaning รายวิชา 4000107

e-Leaning รายวิชา 4000107

e-Leaning รายวิชา 4000107

 e-Leaning รายวิชา 4000107

 e-Leaning รายวิชา 4000107

 

สำหรับ เท่านั้น: บรรยากาศการเรียน, e-Learning
ภาพประกอบประวัติ
ครู หรือ TEACHERS ยุค ICT
บุคคลทั่วไป

ผมไปพบบทความน่าอ่านเกี่ยวกับครู (Teacher) เห็นว่าน่าจำนำมาใช้ได้กับครูผู้สอนในยุค ICT ที่ใช้ e-Learning YRU สนันสนุนการจัดการเรียนการสอน จึงเอามาฝากครับ ลองอ่านดูนะครับ

คำว่า ครู หรือ "TEACHERS"ในภาษาอังกฤษนั้น ตัวอักษรแต่ละตัวที่ผสมกันจนแแปลความหมายว่า "ครู" นั้นสามารถบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครูที่ดีได้เป็นอย่างดี ดังนี้

T (Teaching)

หมายถึง ครูต้องมีหน้าที่หลักในการสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในอนาคต ซึ่ง Gilbert Highet ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Art of Teaching ว่าครูที่สอนดี สอนเก่งต้องมีความรู้ลึกซึ้งในวิชาที่สอน ต้องมีอารมณ์ขัน มีความจำและกำลังใจดี มีลักษณะของผู้นำ เป็นผู้รักเด็ก มีใจเมตตามีความอดทนในการทำงาน เป็นผู้นำมากกว่าที่จะจ้องจับผิด มีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก และสอนเด็กที่มีความสามารถต่างกันรวมกันได้

E (Ethics)

หมายถึง ครูต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมมีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดี เป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์และสังคมทั่วไปได้ ครูในยุคนี้ถูกตั้งคำถามเรื่องจริยธรรมจากสังคมอาจจะเนื่องจากข่าวคราวที่ไม่ดีของครูบางคนที่ทำให้วงการครูมัวหมอง เช่นเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ค้ายาเสพติด ทุจริต เป็นต้น

A (Academic)

หมายถึงครูต้องเป็นนักวิชาการ ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้กว้างขวางและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะด้าน เนื่องจากมีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ เช่นเรื่องของนวัตกรรม เทคโนโลยี สภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งต้องมีความแม่นยำทางวิชาการอีกด้วย

C (Cultural Heritage)

หมายถึง ครูคือผู้มีหน้าที่ถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมอันดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ครูต้องเป็นผู้ปลูกฝังให้เด็กรักและภูมิใจในวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ฉะนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ เป็นหน้าที่หลักของครูที่จะช่วยชี้แนะ อบรมสั่งสอน ขัดเกลาในแนวทางที่ถูกต้องอย่างเต็มความสามารถ

H (Human Relationship)

หมายถึง ครูต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง มวลชนทั่วไป ครูที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีย่อมเป็นที่ยอมรับ ได้รับความร่วมมือในการทำงานจากทุกฝ่าย ดังนั้นจึงประสบความสำเร็จในอาชีพ มีความก้าวหน้าได้โดยไม่ยากนัก

E (Evaluation)

หมายถึง ครูต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในวิธีการประเมินการเรียนการสอนของตนเอง และผลการเรียนของลูกศิษย์ รู้จักใช้วิธีการประเมินผลที่เหมาะสมและทันสมัย รู้วิธีสร้างแบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เพื่อการวัดผลและเกณฑ์การวัดคะแนนที่เที่ยงตรง เที่ยงธรรม เพราะถึงแม้ครูจะมีความรู้ดี สอนดี สอนเก่ง แต่ขาดวิธีการประเมินผลที่ดีที่เที่ยงตรงอาจเกิดความอยุติธรรมได้เช่นกัน

R (Research)

หมายถึง ครูต้องมีความสามารถทางด้านวิจัย ทั้งวิจัยเบื้องต้นและเบื้องลึก ต้องรู้จักสังเกตตั้งสมมติฐาน การเก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เช่น วิจัยเพื่อทราบกิจกรรมเสริมที่เด็กต้องการ วิจัยเรื่องจริยธรรมของครู เป็นต้น

S (Service)

หมายถึง ครูต้องเป็นผู้ให้บริการทางด้านการศึกษา และบริการด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่สังคมทุกด้านอย่างเต็มความสามารถ เช่น บริการให้คำปรึกษาแก่ลูกศิษย์ แนะนำการศึกษานอกระบบ บริการวิชาการแก่สังคม บริการด้านพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น เขียนบทความทางวิชาการ เป็นต้น

อยากให้ครูทุกคนลองสำรวจตนเองดู ว่าเป็นครูที่ดีมากน้อยแค่ไหน และยังขาดคุณสมบัติข้อไหนอีกบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงสำหรับการหรือพูดอีกนัยเป็นครูที่ดีอย่างแท้จริง"ครูมืออาชีพ" ไม่ใช่แค่มี "อาชีพครู" เพียงอย่างเดียว 


อ้างอิงจาก http://www.pbn2.obec.go.th/NEWS/teacher1.pdf 

สำหรับ เท่านั้น: TEACHERS, e-Learning